วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

เงินเฟ้อ (Inflation).....คืออะไร??

 เด็กคนนี้หอบเงินไว้กี่ล้าน?? ในการซื้อสินค้า 1 ชิ้นกันเนี่ย ^^


มีเพื่อนๆหลายคนยังไม่รู้จักว่าเงินเฟ้อคืออะไร ทำไมเราต้องลงทุนให้ "ชนะ" เงินเฟ้อ ผมเลยจะมาอธิบายให้ฟังแบบคร่าวๆ (หมายถึง เท่าที่ผมรู้น่ะ อิอิ)

ในระบบเศรษฐกิจก็มีอยู่ 2 แบบ หลักๆคือ เงินเฟ้อ (Inflation) และ เงินฝืด (Deflation)

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึงภาวะที่ราคาของสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมองดีๆ จะเห็นว่า ราคามันไม่ได้สูงขึ้นหรอก จริงๆแล้ว ค่าเงินของเราต่างหากที่ลดลง .... อย่าเพิ่ง งง ครับ อย่าเพิ่ง งง

ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต เงิน 100 บาท สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 10 ชาม แต่ปัจจุบันซื้อได้เพียง 4 ชามเท่านั้น .... แต่ถ้าต้องการซื้อ 10 ชาม ต้องใช้เงินเป็นจำนวน 250 บาท ....

หรือ มองง่ายๆก็คือ เงินเฟ้อ ทำให้เงินที่เราถืออยู่มีมูลค่าลดลง เพราะซื้อของได้น้อยลงนั่นเอง

ในระบบเศรษฐกิจ ง่ายๆคือ เราต้องพึ่งพา "น้ำมัน" เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ก็ทำให้ราคาของสิ่งของต่างๆสูงขึ้น เพราะเอาไปรวมกับค่าขนส่งเข้าไปด้วย อะไรประมาณนี้อ่ะครับ ..... ราคาในระบบเลยสูงขึ้น

แล้ว เงินเฟ้อ เกิดจากอะไรล่ะ??

ตามหลักวิชาการแล้วมันเกิดได้ 2 สาเหตุคือ ต้นทุนสูงขึ้น (cost-push inflation) ก็อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้น และอีกสาเหตุหนึ่งคือ เกิดจากความต้องการเพิ่มมากขึ้น (demand-pull inflation) เมื่อบริษัทประเมินว่าต้องผลิตเท่านี้จะพอกับความต้องการ(ซึ่งในภาวะปกติก็เพียงพอต่อความต้องการ) แต่ความต้องการสินค้านั้นเพิ่มมากขึ้น (supply เท่าเดิม demand สูงขึ้น) ทำให้ราคาของแพงขึ้น ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น หลังจากนั้น คนก็จะเริ่ม "กักตุน" สินค้านั้นไว้เพราะคิดว่าอนาคตราคาต้องแพงกว่านี้ ก็เลยยิ่งทำให้ demand มากขึ้น ราคายิ่งแพงขึ้นไป .... แต่โดยปกติ ระบบนี้ รัฐ จะเข้ามาจัดการเสมอ


แล้วเขาวัดกันยังไงอ่ะ ว่าเงินเฟ้อเท่าไหร่?

สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้ประกาศอัตราเงินเฟ้อเป็นประจำทุกเดือน โดยจะเปรียบเทียบเป็นเดือนต่อเดือน หรือเป็นปี โดยจะใช้ "ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index-CPI)" เข้ามาเป็นตัวคำนวณ ... โดยดัชนีตัวนี้จะเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคหามาบริโภคเป็นประจำ (โดยกลุ่มของสินค้าและบริการนั้นมันมีมากมายศึกษาเพิ่มเติมได้ http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/data/index_47.asp?list_month=08&list_year=2554&list_region=country)

ดังนั้นการคำนวณอัตราเงินเฟ้อก็คือการเปรียบเทียบว่าราคาของสินค้าและบริการต่างๆ ถูกลงหรือแพงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน(หรือเดือนก่อน) ... พอเข้าใจป่ะครับ

การคำนวณก็อย่างเช่น


      CPI ของเดือน ส.ค. 53 คือ 100.00 ส่วน CPI ของเดือน ส.ค. 54 คือ 104.00 ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อของเดือน ส.ค. 54 (yoy) คือ [(104-100)/100 ]x100 = 4%

แปลว่า เงินเราด้อยค่าลง 4% ต่อปี นั่นเอง หรือ แปลอีกอย่างนึงก็คือ ราคาสินค้าและบริการของเดือน ส.ค. 54 แพงขึ้น จากเดือน ส.ค. 53 เป็น 4% นั้นเอง

ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อมีมากมาย คร่าวๆคือ ถ้าเงินเฟ้ออย่างอ่อน (น้อยกว่า5%) ก็จะมีผลดีในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่ถ้าเกิดเงินเฟ้อรุนแรง (มากกว่า 20%) อย่างนี้จะเป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้ ...ไว้คราวหลังจะมาเล่าให้ฟัง

ฉะนั้น รัฐบาล จึงต้องกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยไว้ ซึ่งในปี 2554 นี้ กำหนดไว้ที่ 0.5-3%ต่อปี เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก

--------------------------------------------------------------------------------------

ส่วนตัวผมคิดว่า อัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงมันมากกว่าที่ประกาศไว้มากนัก เพราะ CPI จะมีการถ่วงน้ำหนัก และรายการสินค้ามักจะเป็นรายการที่ รัฐ ได้ควบคุมราคาไว้แล้ว

ลองคิดง่ายๆ ก๋วยเตี๋ยวขึ้นราคาจาก 20 บาท เป็น 25 บาท ก็เท่ากับ [(25-20)/20]x100 = 25% ไปแล้ว....ผมคิดถูกไหม??

ดังนั้น การที่เรานำเงินไปฝากธนาคาร ได้ดอกเบี้ยกระจิ๊ดเดียว มัน "แพ้" อัตราเงินเฟ้อ....ก็แปลว่า คุณขาดทุนในอัตราเร่ง!! ... แต่ก็ยังดีกว่าเอาเงินใส่ไหแล้วเอาไปฝังดิน ใช่ไหมครับ หุหุ

การลงทุนที่ได้ประสิทธิภาพ อย่างน้อยต้องได้ผลตอบแทน "ชนะ" อัตราเงินเฟ้อ.....
 
แต่สำหรับผมการลงทุนที่ได้ประสิทธิภาพต้องได้ผลตอบแทน "ชนะ" (เงินเฟ้อ + ความเสี่ยง) นั่นคือ อย่างน้อย 15%ต่อปี.....แต่ไม่ต้องไปกดดันตัวเองนะครับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่งั้นคุณคงต้องบ้าตายไปก่อนแน่ๆ เอิ๊กๆ เอาให้ใกล้เคียงก็พอ ใน "ระยะยาว"




มีเรื่อง โจ๊ก เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกว่า.....คนเยอรมันจะเอารถเข็นขนเงินไปซื้อสินค้า ถ้าจอดทิ้งไว้ ขโมยก็จะคงเอาแต่รถเข็นไปเหลือทิ้งไว้แต่เงิน ^^





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น